You have no items in your shopping cart.

LiveZilla Live Help
Tech Support

088-227-9450

Customer Service

082-450-3991

View Topic "เทคนิค การเชื่อมไฟฟ้า ( เชื่อมธูป)"

1 Item(s)     Sort:  Newest Oldest

per page
 
  Post
Posted By: web editor
Total Posts: 13
Joined Date: Jul 7, 2016

เทคนิคและวิธีการเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมไฟฟ้าให้ได้รอยเชื่อมที่มีความแข็งแรง และแนวเชื่อมที่สมบูรณ์จะต้องมี เทคนิคในการทำงาน คือ

safety110 - 0006

ตั้งมุมลวดเชื่อม

ตั้งมุมลวดเชื่อมในขณะเชื่อมมุมลวดเชื่อมจะต้องตั้งให้ได้มุมที่เหมาะสมโดยจะมีมุมเกิดขึ้นจากลวดเชื่อมและชิ้นงาน คือ มีมุมหน้าลวดเชื่อมกับมุมทางด้านข้าง ประโยชน์ของมุมลวดนี้ก็เพื่อป้องกันและบังคับสแล็กที่เกิดจากฟลักซ์ให้วิ่งตามรอยเชื่อมและอลุมรอยเชื่อมไว้ไม่ให้อากาศเข้าไปผสมกับรอยเชื่อมได้

  • มุมหน้าลวดเชื่อมขณะทำการเชื่อมมุมนี้ควร ตั้งให้ได้ 70-80 องศาโดยสมํ่าเสมอ
  • มุมด้านข้าง เมื่อเดินลวดแนวเชื่อมแนวเดียว มุมด้านข้างควรจะ ตั้งให้ได้ 90 องศาตลอดเวลา
  • มุมด้านข้าง กรณีที่เชื่อมพอกหรือเชื่อมทับแนวกันหลาย ๆ แนว มุมนี้ควรตั้งมุมลวด ประมาณ 45 ถึง 60 องศา

การเริ่มต้นจุดอาร์ก

  • เริ่มโดยนำลวดเชื่อมจี้ที่ชิ้นงานให้อาร์กเป็นประกายก่อน
  • ยกให้สูงเพื่อปรับระยะอาร์ก
  • ระยะอาร์ก คือ ระยะที่ใช้เชื่อมชิ้นงาน เพื่อให้การหลอมละลายของลวดเชื่อมกับชิ้นงานติดดี ระยะอาร์กที่เหมาะสมจะห่างเท่ากับแกนลวดเชื่อม เช่น ลวด 0 3.25 มม. ระยะ อาร์กคือ 3.25 มม.

safety110 - 0007

งานป้อมลวดเชื่อม

ระหว่างการอาร์ก ลวดเชื่อมจะละลายประสานแนวเชื่อมทีละน้อย ให้ป้อนลวดเชื่อมลงหาชิ้นงาน โดยรักษาระยะอาร์กคงที่มุมด้านข้าง ยังต้องรักษาไวให้ได้ 90°

การต่อแนวเชื่อม

งานเชื่อมจะต้องมีแนวต่องาน เช่น เมื่อเชื่อมไปแล้วหมดลวด หรือหยุดพักก่อนการต่อแนว ต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยโดยแปรงลวดก่อน วิธีต่อให้เริ่มจากจุดนอกของรอยเชื่อม เมื่อจุดอาร์กแล้วจึงเดินตามแนวเชื่อม

ท่าเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมไฟฟ้ามีท่าเชื่อมได้หลายท่าตามลักษณะของการทำงาน ดังต่อไปนี้

ท่าเชื่อมราบ

ท่าเชื่อมราบเป็นการเชื่อมเมื่อชิ้นงานวางอยู่ล่างลวดเชื่อมขณะเชื่อมอยู่ข้างบน การเชื่อมท่าราบอาจเป็นงานต่อชน เชื่อมมุมหรือเชื่อมฉาก เป็นต้น

safety110 - 0008

ท่าเชื่อมขึ้นและเชื่อมลง

ท่าเชื่อมขึ้น คือ การเชื่อมเดินลวดเชื่อมขึ้น บนชิ้นงานที่ตั้งฉากกับแนวระดับชิ้นงานอาจจะต่อชนหรือต่อเป็นมุมฉาก

ท่าเชื่อมลง เป็นการเชื่อมโดยเดินลวดจากด้านบนลงด้านล่าง

ท่าเชื่อมขนานนอน

ท่าเชื่อมขนานนอนเป็นการเชื่อมโดยเดินลวดเชื่อมในแนวระดับนอน

ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ

ท่าเชื่อมเหนือศีรษะเป็นการเชื่อมที่รอยเชื่อมอยู่สูงและเชื่อมทางด้านล่างของงาน

การเดินแนวเชื่อม

การเดินแนวเชื่อมไฟฟ้าต้องคำนึงถึงแนวเชื่อม ท่าเชื่อม ชนิดของลวดเชื่อม (ชนิดของฟลักช์หุ้ม) และความหนาของแนวเชื่อม การเดินแนวทำได้ดังนี้

safety110 - 0009.1

การเดินแนวเชื่อมแนวระนาบ

  • เดินแนวตรงไม่ส่ายลวด แนวเชื่อมเล็ก แนว

นูน

  • เดินแนวส่ายลวดเชื่อม ต้องการแนวเชื่อมกว้าง แนวเชื่อมเว้าตรงกลาง

การเดินแนวเชื่อมตั้งขึ้นและลง

  • ตั้งขึ้น ให้เชื่อมสายลวดเชื่อมแบบซิกแซ็กขึ้นบน
  • เชื่อมลง ส่ายลวดเชื่อมแบบสามเหลี่ยมจากบนลงล่าง
    • เชื่อมลง ส่ายลวดเชื่อมแบบครึ่งวงกลมจากบนลงล่าง
Posted : Nov 10, 2016

1 Item(s)     Sort:  Newest Oldest

per page
 

View Topic "เทคนิค การเชื่อมไฟฟ้า ( เชื่อมธูป)"

Who is online

 
Users browsing this topic 1 logged customers:: 0 and guest 1 (based on users active over the past 5 minutes)